1. คนไทยส่วนใหญ่ของประเทศ เข้าถึงอินเทอร์เน็ต และนิยมใช้ Social Media ผ่านมือถือ
- ประเทศไทย มีประชากร 69.24 ล้านคน แบ่งเป็นผู้หญิง 51.3% และผู้ชาย 48.7% โดย 50% ของจำนวนประชากรทั้งหมด อาศัยอยู่ในเขตเมือง
- มีเบอร์โทรศัพท์มือถือ 92.33 ล้านเลขหมาย ซึ่งมากกว่าประชากรไทยทั้งประเทศ นั่นหมายความว่าหลายคนถือมากกว่า 1 เลขหมาย
- 57 ล้านคน สามารถเข้าถึงอินเทอร์เน็ต โดย 55 ล้านคน เป็นกลุ่มที่ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านโทรศัพท์มือถือเป็นประจำ
- 51 ล้านคน ใช้งาน Social Media เป็นประจำ
- 49 ล้านคน ใช้ Social Media ผ่านโทรศัพท์มือถือ
2. วัยผู้ใหญ่ ใช้อินเทอร์เน็ตผ่านมือถือ และยังคงรับสื่อทีวี
- คนไทยในกลุ่มผู้ใหญ่ มีโทรศัพท์มือถือเกือบทุกคน โดยใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านสมาร์ทโฟน 71% และผ่านคอมพิวเตอร์ ไม่ว่าจะเป็นแบบตั้งโต๊ะ หรือโน้ตบุค 25% และเข้าผ่านแท็บเล็ต 12%
- 98% ของคนไทยวัยผู้ใหญ่ ยังคงรับสื่อโทรทัศน์
- มีเพียง 1% ของคนไทยกลุ่มผู้ใหญ่ ที่ดู Online Streaming ผ่านทางโทรทัศน์
3. คนไทย ใช้เวลาบนโลกออนไลน์ กว่า 9 ชั่วโมงต่อวัน
- คนไทยโดยเฉลี่ยแล้ว ใช้อินเทอร์เน็ต 9 ชั่วโมง 11 นาทีต่อวัน (นับรวมทุกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์)
- ใช้เวลาอยู่กับ Social Media 3 ชั่วโมง 11 นาทีต่อวัน (นับรวมทุกอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์)
- ใช้เวลาดู Online Streaming หรือ Video On Demand 3 ชั่วโมง 44 นาทีต่อวัน
- ใช้เวลาฟังเพลงแบบ Music Streaming 1 ชั่วโมง 30 นาทีต่อวัน
4. คนไทย 90% ที่ใช้อินเทอร์เน็ตทุกวัน – “Google.com” เว็บไซต์เข้าสูงสุด
- 90% ของคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้อินเทอร์เน็ตทุกวัน
- มีเพียง 8% ใช้อินเทอร์เน็ตอาทิตย์ละครั้ง และ 2% ใช้เดือนละครั้ง
- Google.com เป็นเว็บไซต์อันดับ 1 ที่คนไทยใช้มากสุด ตามมาด้วย Google.co.th, Facebook.com, YouTube.com นอกจากนี้มี Portal Website ของไทยติดอันดับด้วย คือ Pantip.com และ Sanook.com
สะท้อนให้เห็นว่าถ้านักการตลาด และเจ้าของแบรนด์สินค้า จะทำ Digital marketing ยังคงต้องให้ความสำคัญกับ Search Engine ควบคู่กับแพลตฟอร์ม Social Media และ Portal Web
- คำค้นหาบน Google สูงสุดในไทย คือ “บอล” ตามมาด้วย หนัง, ผลบอล, แปล และหวย
5. จับตา Online Streaming มาแรง
- Online Streaming ยอดนิยมคือ การดู Video Streaming (98%)
- ทีวีออนไลน์ (53%), เล่น Game Streaming (36%), ดู Live Game Streaming (31%) และ ดูการแข่งขัน E-Sport (20%)
6. คนไทย ใช้เทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียง และใช้แอปพลิเคชันเรียกรถแท็กซี่
- 45% ของคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้เทคโนโลยีสั่งงานด้วยเสียง
- 20% ของคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้แอปพลิเคชันเรียกรถ
- 46% ของคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้เครื่องมือ Ad-Blocking
- 36% ของคนไทยที่ใช้อินเทอร์เน็ต ใช้ VPN
7. คนไทยใช้เวลากับ “Social Media” กว่า 3 ชั่วโมงต่อวัน – มี Account สื่อสังคมออนไลน์ 10.5 บัญชีต่อคน
- คนไทย 51 ล้านคนใช้ Social Media และมากถึง 49 ล้านคน ใช้สื่อสังคมออนไลน์ผ่านโทรศัพท์มือถือ
- ใช้เวลาอยู่กับ Social Media โดยเฉลี่ย 3 ชั่วโมง 11 นาที
- คนไทยมี Social Network Account 10.5 บัญชีต่อคน สูงติด Top 5 ของโลก (อันดับ 1 อินเดีย 12.0 บัญชีต่อคน / อันดับ 2 อินโดนีเซีย 11.2 บัญชีต่อคน / อันดับ 3 เวียดนาม 10.8 บัญชีต่อคน / อันดับ 4 เท่ากับไทย คือ โคลัมเบีย 10.5 บัญชีต่อคน / อันดับ 5 ฟิลิปปินส์ 10.4 บัญชีต่อคน)
8. “Facebook” ยังรั้งอันดับ 1 สื่อสังคมออนไลน์ ตามมาด้วย YouTube – LINE
- Top 10 ของ Social Network และ Messenger ยอดนิยมในไทย ได้แก่ Facebook, YouTube, LINE, Facebook Messenger, Instagram / Twitter / Skype / LinkedIn / Pinterest / WeChat /
- เมื่อเปรียบเทียบการเข้าถึง “โฆษณา” บนแพลตฟอร์ม Social Network ต่างๆ พบว่า “Facebook” ยังคงเป็นแพลตฟอร์มที่คนไทยเข้าถึงโฆษณาบนสื่อสังคมออนไลน์ได้มากสุด ด้วยจำนวน 50 ล้านคน ตามมาด้วย Instagram 13 ล้านคน / Twitter 4.7 ล้านคน / Snap Chat 555,000 คน / LinkedIn กว่า 2.4 ล้านคน
- ยอดการเข้าถึงโฆษณาบน Facebook (Advertising Reach) ของผู้ใช้งานลดลง 2% ขณะที่ Twitter โตขึ้น 1.4% ข้อมูลดังกล่าว สะท้อนให้เห็นว่าถ้าจะสื่อสารการตลาดผ่าน Social Media ให้มีประสิทธิภาพดีขึ้น ควรกระจายแพลตฟอร์ม ไม่ควรกระจุก หรือโฟกัสเฉพาะแต่ Facebook อย่างเดียว ถึงแม้จะเป็นแพลตฟอร์มหลักที่คนไทยใช้งานมากสุดก็ตาม
- กลุ่มผู้ใช้ Social Network ในไทย กลุ่มใหญ่คือ อายุ 18 – 24 ปี และ 25 – 34 ปี
- กลุ่มผู้ใช้งาน Social Network ที่น่าสนใจ คือ กลุ่มอายุ 45 – 54 ปี และ กลุ่มอายุ 13 – 17 ปี ซึ่งกลุ่มวัยรุ่น ยังเป็นผู้บริโภคกลุ่มสำคัญที่เข้าถึงโฆษณาบน Facebook ได้เป็นอย่างดี
9. “Instagram” เข้าถึงกลุ่มผู้หญิงได้มีประสิทธิภาพ – “Twitter” เจาะผู้ชายได้มากกว่า
- จำนวนผู้ใช้ “Instagram” หรือที่เรียกสั้นๆ ว่า “IG” โฆษณาเข้าถึงผู้ใช้งานแพลตฟอร์มนี้ อยู่ที่ 13 ล้านราย
- ในจำนวนดังกล่าว เป็นกลุ่มผู้หญิง 62% และผู้ชาย 38%
ตอกย้ำให้เห็นว่า การเติบโตของผู้ใช้งาน Instagram ในไทย นอกจากใช้โพสต์รูป-วิดีโอของตัวเอง ติดตามเพื่อน และศิลปินดารา – เซเลบริตี้แล้ว อีกส่วนหนึ่งยังมาจาก “Social Commerce” ที่พ่อค้าแม่ค้า IG โพสต์รูปขายสินค้า ซึ่งส่วนใหญ่เป็นสินค้าแฟชั่น โดยกลุ่มลูกค้าใหญ่คือ ผู้หญิง
- ยอดผู้ใช้ “Twitter” ที่โฆษณาสามารถเข้าถึงผู้ใช้งานแพลตฟอร์มนี้ อยู่ที่ 4.7 ล้านราย โดย 53% เป็นผู้ชาย และ 47% เป็นผู้หญิง และยังเป็นแพลตฟอร์มที่เติบโตต่อเนื่อง
10. คำค้นหาสุดฮิตบน YouTube “บุพเพสันนิวาส” ติดอันดับ Top 10
- คำค้นหาที่คนไทยเสิร์ชมากสุดบน YouTube อันดับ 1 คือ เพลง / อันดับ 2 หนัง / อันดับ 3 แดน / อันดับ 4 วิธี / อันดับ 5 ผี / อันดับ 6 การ์ตูน / อันดับ 7 เพลงใหม่ / อันดับ 8 ตลก / อันดับ 9 บุพเพสันนิวาส / อันดับ 10 หนังใหม่
จาก Top 10 คำค้นหาดังกล่าว สะท้อนได้ถึงพฤติกรรมการใช้งาน “YouTube” ในกลุ่มผู้บริโภคไทย ส่วนใหญ่ใช้สำหรับเป็น “สื่อบันเทิง” ที่รับชมเพลง หนัง การ์ตูน และละคร
11. คนไทย ใช้มือถือระบบ “Pre-paid” มากกว่า “Post-paid” และ มากถึง 74% ทำธุรกรรม Mobile Banking
- จากจำนวนเลขหมายในประเทศไทย มากกว่า 92 ล้านเลขหมาย (มากกว่าประชากรไทยทั้งประเทศ) พบว่า 77% เป็นระบบ Pre-paid และ 23% เป็นระบบ Post-paid
- การใช้งานโทรศัพท์มือถือของคนไทย ส่วนใหญ่ใช้แชทสนทนา (95%) และ ดูวิดีโอออนไลน์ (95%) ตามมาด้วยเล่นเกมออนไลน์ (85%)
- แต่การใช้งานมือถือในกลุ่มคนไทย ที่น่าสนใจคือ 74% ใช้สำหรับทำธุรกรรม Mobile Banking และ 80% ใช้เปิดแผนที่เดินทาง
12. คนไทย ดาวน์โหลด กว่า 2,000 แอปฯ – มูลค่าการใช้จ่ายผ่านแอปฯ กว่า 500 ล้านเหรียญสหรัฐ
- ทั้งปี 2018 คนไทยดาวน์โหลดแอปพลิเคชันมือถือ 2,046 ล้านแอปพลิเคชัน
- ยอดมูลค่าการใช้จ่ายผ่านแอปพลิเคชันต่างๆ บนมือถือ ไม่ต่ำกว่า 532 ล้านเหรียญสหรัฐ
- ในสมาร์ทโฟนที่คนไทยถืออยู่นั้น โดยเฉลี่ยแล้วติดตั้งแอปพลิเคชัน 99 แอปฯ
- แม้จะติดตั้งแอปพลิเคชันในมือถือเยอะแยะ แต่คนไทยใช้งานจริง 38 แอปฯ ต่อเดือน
13. “LINE” – “Facebook” เป็นแอปฯ ที่คนไทยใช้งานมากสุด – “Netflix” แอปฯ ทำรายได้สูงสุดอันดับ 2
- “LINE” เป็นแอปพลิเคชันที่คนไทยใช้งานมากสุดในปี 2018 ตามมาด้วย Facebook, Facebook Messenger, Instagram และ LAZADA
- “Facebook Messenger” เป็นแอปพลิเคชันที่คนไทยดาวน์โหลดมากสุดในปี 2018 ตามมาด้วย Tiktok, Facebook, LINE และ LAZADA
- ที่น่าสนใจคือ ผลสำรวจ Mobile App Ranking ที่ทำรายได้สูงสุดในปี 2018 อันดับ 1 คือ “LINE” ส่วนอันดับ 2 คือ “Netflix” สถิติดังกล่าวแสดงให้เห็นว่า Online Streaming อย่าง Netflix เริ่มเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของคนไทยมากขึ้นเรื่อยๆ
14. คนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป ทำธุรกรรมการเงินผ่านออนไลน์
- 85% ของคนไทยอายุ 15 ปีขึ้นไป มีบัญชีกับธนาคาร
- 9.8% มีบัตรเครดิต และ 8.3% มีบัญชีออนไลน์
- 19% ซื้อสินค้าออนไลน์ หรือชำระค่าสินค้า-บริการต่างๆ ผ่านออนไลน์
- 19% ของผู้หญิง และผู้ชายอายุ 15 ปีขึ้นไป ทำ Transaction ผ่านออนไลน์
15. “เสิร์ชหาสินค้า – ช้อปปิ้ง” กิจกรรมยอดฮิตบนอีคอมเมิร์ซ
- มากถึง 90% ของกิจกรรมบนอีคอมเมิร์ซ คือ ค้นหาสินค้า และซื้อสินค้าผ่านออนไลน์
- 71% ช้อปปิ้งออนไลน์ ผ่านโทรศัพท์มือถือ
- กลุ่มสินค้า-บริการหลักที่นิยมซื้อผ่านอีคอมเมิร์ซ ได้แก่ “สินค้าแฟชั่น และความสวยความงาม” มูลค่าการใช้จ่ายอยู่ที่ 908 ล้านเหรียญสหรัฐ / “อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์” มูลค่าการใช้จ่าย 1,043 ล้านเหรียญสหรัฐ / “อาหาร – เครื่องใช้ส่วนบุคคล” ยอดใช้จ่าย 571 ล้านเหรียญสหรัฐ / “เฟอร์นิเจอร์ และของตกแต่งบ้าน ยอดใช้จ่าย 660 ล้านเหรียญสหรัฐ / ของเล่น และงานอดิเรก ยอดใช้จ่าย 575 ล้านเหรียญสหรัฐ / “ท่องเที่ยว” 4,140 ล้านเหรียญสหรัฐ / “เพลงดิจิทัล” 45 ล้านเหรียญสหรัฐ / วิดีโอเกม มูลค่าการใช้จ่าย 158 ล้านเหรียญสหรัฐ
- จำนวนคนไทยที่ซื้อสินค้าอุปโภคบริโภค ผ่านอีคอมเมิร์ซ มีประมาณ 37.50 ล้านคน
- มูลค่าตลาดสินค้าอุปโภคบริโภคบนช่องทางอีคอมเมิร์ซ อยู่ที่ 3,757 ล้านเหรียญสหรัฐ เติบโต 23%
- การชำระเงินค่าสินค้า-บริการช่องทางอีคอมเมิร์ซ คนไทยนิยมชำระผ่าน Mobile Banking
ที่มา Marketing Oops